วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

#2 เทคนิคการนำเสนอ

1. ชื่อเรื่อง (Title)
โทรศัพท์ NOKIA C7


2.ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T
วิเคราะห์ S W O T
จุดแข็ง แบรนด์ที่แข็งแกร่ง, แพคเกจตัวเครื่องรวมดี มีฟีเจอร์ มีเทคโนโลยีครบครัน
จุดอ่อน สินค้าหลากหลายมากเกินไปจนแย่งยอดขายของตนเองมากกว่าจะช่วยกันแย่งจากคู่แข่ง
อุปสรรค คู่แข่งที่ท้าทาย Nokia นั้นเยอะมากไม่ว่าจะเป็นตลาดล่างที่โดนกระหน่ำด้วยมือถือจากจีน, ตลาดกลางก็ต้องโดนท้าชิงโดย Samsung และ LG, ตลาดบนก็โดน BlackBerry และ iPhone
ขนาด
* ขนาด:117.3 x 56.8 x 10.5 มม.
* น้ำหนัก (พร้อมแบตเตอรี่): 130 กรัม
* ปริมาตร: 64 ซีซี

* เป็นสมาร์ทโฟนรุ่นที่ 2 ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Symbian เวอร์ชั่นล่าสุด โดยออกแบบมาเพื่อตอบสนองผู้บริโภค
* มีความสามารถในการเชื่อมต่อสังคมออนไลน์ จึงเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่สมบูรณ์แบบสำหรับผู้ที่ไม่เคยตกกระแส”
* โพสต์ความคิดเห็นและรับอัพเดตทันทีจาก Facebook และ Twitter ได้โดยตรงจากหน้าจอหลัก
* แบ่งปันตำแหน่งบน Facebook และพบปะเพื่อนๆ ที่อยู่ใกล้ๆ
* ถ่ายภาพได้คมชัดพร้อมถ่ายวิดีโอ HD ด้วยกล้องขนาด 8 megapixel แล้วโพสต์ขึ้น Facebook จากหน้าจอหลัก
* ฟังเพลงจากระบบสเตอริโอในรถยนต์ด้วยภาคส่งสัญญาณ FM ในตัว
* พลิกดูหน้าปกอัลบั้มและสร้างรายการเล่นเพลงโปรดของคุณ
* เพลิดเพลินกับแอพพลิเคชั่นหลากหลายได้พร้อมกันโดยไม่สิ้นเปลืองแบตเตอรี่
นอกจากนี้ด้วยคุณสมบัติของการใช้ระบบปฎิบัติการ Symbian ที่มีการแสดงผลจำนวนเวลาการใช้งานแบตเตอรี่นี้
ในโหมดต่างๆออกมา ให้เห็นกันอีกด้วยซึ่งได้แก่
• Video playback – สูงสุดถึง 7 ชั่วโมง
• Music playback – สูงสุดถึง 50 ชั่วโมง
• Data transfer (Web TV) – สูงสุดถึง 3 ชั่วโมงกับ 20 นาที
• Video recording time – สูงสุดถึง 3 ชั่วโมงกับ 40 นาที
ทั้งนี้จะใช้เวลาในการชาร์ตแบตเตอรี่ทั้งหมดประมาณ 2 ชั่วโมงต่อครั้ง


3.วัตถุประสงค์ (Objective)

โนเกียตอกย้ำความเป็นผู้นำแห่งโลกการสื่อสารและสังคมออนไลน์เปิดตัว Nokia C7 สมาร์ทโฟนตัวที่ 2 ที่ทำงานบนแพลทฟอร์ม Symbian^3 พร้อมเปิดตัว Nokia Experience Studio และแนะนำแอพพลิเคชั่นใหม่จากเนชั่น กรุ๊ป และสนุก! ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้ใช้มือถือที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทุกที่ทุกเวลา Nokia C7 เป็นสมาร์ทโฟนที่เหมาะสำหรับผู้ชื่นชอบการติดต่อสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ อย่างมีสไตล์ ผสมผสาน สแตนเลสสตีลและกระจกบนดีไซน์เพรียวบางได้อย่างสวยงาม หน้าจอระบบสัมผัส AMOLED ขนาด 3.5 นิ้ว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเชื่อมต่อสังคมออนไลน์ ทั้งการอัพเดต Facebook และทวีตข้อความบน Twitter ซึ่งทำได้โดยตรงจากหน้าจอหลัก รวมถึงการเข้าใช้อีเมล์หลากหลายแอคเคาท์ ทั้ง Ovi Mail, Yahoo Mail, Windows Live Hotmail นอกจากนี้ Nokia C7 ยังเปิดโลกของแอพ เกมส์ วิดีโอ เว็บ และบริการที่เกี่ยวกับแผนที่และตำแหน่ง ผ่าน Ovi Store โนเกียเปิดตัวโปรแกรมมือถือตัวใหม่ Own Voice สำหรับโทรศัพท์ระบบ Symbian ของโนเกีย ให้ดาวน์โหลดได้ฟรีสำหรับใช้ร่วมกับโปรแกรมแผนที่ Ovi Maps ซึ่งมีเสียงบอกนำเส้นทางการเดินทาง โปรแกรม Own Voice นี้จะเปลี่ยนเสียงในโปรแกรมบอกเส้นทางการเดินทาง เป็นเสียงของผู้ใช้ที่บันทึกได้เอง (หรือเสียงคู่รักของผู้ใช้?) โดยโปรแกรมจะบันเสียง 54 วลีจากผู้ใช้ เพื่อนำไปใช้เป็นเสียงบอกการเดินทางในโปรแกรม
นอกจากนี้เสียงที่บันทึกไว้แล้วยังสามารถจัดส่งให้เพื่อนหรือคนรู้จักนำไปใช้ในโทรศัพท์เครื่องอื่นได้ด้วย


4.กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target )

- ผู้ชื่นชอบการติดต่อสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์อย่างมีสไตล์และผู้ใช้มือถือที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทุกที่ทุกเวลา
- บุคคลทั่วไป

5.แนวความคิด (Concept)

ดีไซน์ล้ำมีสไตล์บางเฉียบ สวยทันสมัย

6.เหตุผลสนับสนุนแนวความคิด (Support)

เครือข่ายสังคมที่มาพร้อมในตัว

* รับทุกการอัพเดททันทีจาก Facebook และ Twitter
โดยตรงบนหน้าจอหลักของคุณ
* อัพเดทสถานะของคุณในทุกเครือข่ายสังคมได้พร้อมกัน
* เพิ่มกิจกรรม Social events ในปฏิทินของคุณได้ง่าย
เพียงแค่คลิกเดียว
* แบ่งปันตำแหน่งของคุณผ่าน Facebook แล้วพบกับเพื่อนๆ
ที่อยู่ใกล้
* โพสต์ความคิดเห็นและภาพถ่ายจากหน้าจอหลักได้โดยตรง

แอปและอื่นๆ อีกมากมายจาก Ovi Store

* มีแอปให้เลือกนับพัน รวมถึง Sports Tracker และ
Here and now
* มีแอปใหม่เพิ่มใน Ovi Store อย่างต่อเนื่อง
และมีหลายรายการที่โหลดได้ฟรี
* ลองเล่นเกมส์ใหม่ๆ แล้วซื้อเกมส์ที่คุณชอบ
* มีวอลเปเปอร์และธีมให้เลือกมากมาย
ตอบสนองทุกสไตล์และความชอบ
* ดาวน์โหลดพอดคาสต์ ทั้งข่าว กีฬา บันเทิงและอื่นๆ
อีกมากมาย

แผนที่พร้อมระบบนำทางด้วย GPS ฟรี

* ค้นหาเส้นทางที่ดีที่สุด แล้วไปยังจุดหมายของคุณ
ได้ตรงเวลาด้วย Ovi Maps
* รับระบบนำทางฟรีตลอดชีพ พร้อมคำแนะนำด้วย
เสียงแบบเลี้ยวต่อเลี้ยว
* บันทึกคำแนะนำให้เป็นเสียงของคุณเองด้วย Own Voice
แล้วแบ่งปันบน Facebook
* ค้นหาภัตตาคาร สถานที่สำคัญ และจุดที่น่าสนใจอื่นๆ
ที่อยู่ใกล้
* ใช้ชุดหูฟังไร้สาย Bluetooth Headset BH-217
เพื่อรับฟังระบบนำทางด้วยเสียงได้ชัดเจนขณะเดินทาง

ความบันเทิงบนมือถือที่ยอดเยี่ยม

* ถ่ายภาพและวิดีโอความละเอียดสูงด้วยกล้องดิจิตอล
8 ล้านพิกเซล
* ชม National Geographic, CNN, BBC
และช่องรายการอื่นๆ อีกมากมายด้วย Web TV
* ฟังเพลงจากระบบสเตอริโอในรถยนต์ด้วยภาคส่งสัญญาณ
FM ในตัว
* พลิกดูหน้าปกอัลบั้มและสร้างรายการเล่นเพลงโปรดของคุณ
* เล่นเพลงให้ดังกระหึ่มด้วยลำโพงชนิดพกพา MD-9 ที่ทรงพลัง

7. อารมณ์ และความรู้สึก (Mood & Tone /Personality)

สวยงามทันสมัย ดีไซน์ล้ำสมัยด้วยวัสดุสเตนเลสขัดเงาและกระจก ตอบสนองทุกการใช้งานในทุกที่ทุกเวลาอย่างสะดวกรวดเร็ว

8.ผลตอบสนอง (Desired response)

-กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงผลที่ได้รับ เช่น ความสะดวกสบายในการใช้ในการสื่อสาร
-กลุ่มเป้าหมายมั่นใจประสิทธิภาพ ของโทรศัพท์ที่เราใช้

เทคนิคการนำเสนองานนิเทศศาสตร์

เทคนิคการนำเสนอ แนวคิคเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ งานโฆษณา
ในการสร้างสรรค์ผลงานให้ประสบความสำเร็จ
หลักการสร้างสื่อ เพื่อการนำเสนอผลงานที่ดี
ตัวอย่างกรณีศึกษา สื่อไตเติ้ลรายการ Title
ศิลปะในการนำเสนอไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่มุมกล้องการจัดเสนอที่สวยงาม สื่ออารมณ์ และความมายตามที่ผู้ผลิต รายการต้องการเท่านั้น ยังมีศิลปะของการนำเสนออีกรูปแบบหนึ่งที่ทุกรายการจะขาดไม่ได้ นั้นคือ ส่วนที่เรียกว่าเป็น ส่วนประกอบรายการ อันได้แก่ ไตเติ้ล ตตัวอย่างรายการ อินเตอร์ลูคหรือดีซีน และทัศนรายการ

ไตเติ้ล คือส่วนประกอบรายการโทรทัศน์ ที่ทำหน้าที่บอกชื่อรายการโดยปกติจะอยู่ ในส่วนทายสุดของรายการ
1. รูปแบบการนำเสนอ
2. ลักษณะของภาพ
3. ทัศนสารที่ใช้สร้างเรื่อง
4. ตัวอักษรชื่อรายการ
5. ลำดับการนำเสนอ
6. การใช้เสียง
7. ความยาว
8. ลีลา

1.รูปแบบการนำเสนอไตเติ้ลรายการ คือ วิธีการเล่าเรื่องด้วยภาพที่ปรากฎในไตเติ้ลรายการ
1.1 การใช้ชื่อรายการ มีการใช้เฉพาะ ชื่อรายการเท่านั้นในการนำเสนอ โดยปราศจากภาพที่จะช่วยขยายความหรือเล่าเรื่อง
1.2 การใช้สัญลักษณ์ สัญลักษณ์ เป็ฯสิ่งที่ใช้แทนความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
1.3 การนำเสนอบุคคล การนำเสนอบุคคลในไตเติ้ล รายการมี 3 ลักษณะ คือ การแนะนำผู้ดำเนินรายการหรือพิธีกร การแนะนำนักแสดง และการนำเสนอแขกรับเชิญ
1.4 การใช้ภาพแสดงเนื้อหา ภาพแสดงเนื้อหาที่ใช้เป็นรูปแบบการนำเสนอไตเติ้ล ทำให้ผู้ชมทราบได้เป็นอย่างดี
1.5 การสร้างโครงเรื่อง โดยปกติแล้วโครงเรื่องเป็ฯส่วนประกอบสำคัญของการเล่าเรื่องเป็ฯรูปแบบละคร
2. ลักษณะของภาพไตเติ้ลรายการที่ดี
2.1 ชนิดภาพ มีการสร้างสรรค์ภาพโดยใช้ภาพที่ถ่ายจริง มักเป็นไตเติ้ล
2.2 มุมมองภาพ ที่ปรากฎ มักเป็นภาพประเภท
- Simple shot คือ เป็นภาพที่มีเพียงวัตถุเท่านั้นที่เคลื่อนไหว
- Developing shot คือ เป็นภาพที่ประกอบขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเลนส์
- Complex shot คือ เป็นภาพประกอบขึ้นจากการเคลื่อนไหวของเลนส์ (ซูมเข้า-ซูมออก หรือเปลี่ยนระยะชัด)
2.3 ลำดับภาพ คือ วิธีการเรียงร้อยภาพเข้าไว้ด้วยกันเพื่อการสื่อสารไปยังผู้ชม
- การตัดภาพ คือ เป็นการนำเสนอภาพหนึ่งไปต่อท้ายอีกภาพหนึ่ง
- การจางซ้อนภาพ คือ เป็นการนำเสนอภาพหนึ่ง ไปเชื่อมทั้งภาพหนึ่ง โดยที่ในช่วงการเชื่อมต่อ ช่วงท้ายของภาพแรกค่อย ๆ จางหาย
- การกวาดภาพ คือ เป็นการนำเสนอภาพหนึ่งไปเชื่อมกับอีกภาพหนึ่ง โดยช่วงการเชื่อมต่อยังคงเห็นทั้งสองภาพ มีความชัดเท่านั้น
3.ทัศนสารที่ใช้สร้างเรื่อง ได้แก่ พื้นที่ เส้น รูปร่าง ความเข้มสี สี การเคลื่อนไหว และจังหวะ
3.1 พื้นที่ การใช้พื้นหลังให้เป็นสามมิติ
3.2 เส้น ปรากฎอยู่ในทุกส่วนของภาพ เพราะเมื่อมีความแตกต่างของความเข้มสีหรือสีตัดกันอย่างชัดเจน เส้นจะพบเห็นในไตเติ้ล
3.3 รูปร่าง การใช้รูปร่างพื้นฐาน ได้แก่ วงกลม สี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยม สำหรับรูปร่างพื้นฐาน สองมิติ และทรงกลม ลูกบาศก์
3.4 สีและความเข้มสี สีแต่ละสีให้อารมณ์
สีแดง ตื่นเต้นเร้าใจ
สีเหลือง ดูสดใส ศักดิ์สิทธิ์
สีน้ำเงิน หนักแน่นมีราคา
สีฟ้า ให้ความสุขสบาย โปร่ง
สีเขียว ความรุ้สึกสดชื่น
สีม่วง มีเสน่ห์ ลึกลับ
สีชมพู รู้สึกนุ่มนวล
สีสันหลากหลาย สดใส สนุกสนาน
ภาพประกอบตัวอย่างโฆษณาที่ใช้ HARD SELL, SOFT SELL และ MOOD
ตัวอย่าง " โฆษณารถยนต์โตโยต้าวิช" ใช้ลักษณะการสร้างความพร้อมของอารมณ์ Mood ด้วยองค์ประกอบของสี แสง ภาษาและสถานการณ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้สึกอยากขับรถยนต์โตโยต้าวิช เพื่อความเป็นจุดเด่นทางสายตาของคนรอบข้าง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

#1 (17 พ.ย. 53) การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน
เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter)
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
1.เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
2.เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3.เพื่อลดเวลาการทำงาน
4.เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5.เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
6.เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง
แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษร
ต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบ
สภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาด
ไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีก
โลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่ง
สามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ
จัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

****************************************************************
#1 บทที่3/ข้อมูลแลการนำเสนอข้อมูล (Information already presented)

ความหมายของข้อมูล
เมื่อจำแนกตามลักษณะของข้อมูล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถบอกได้ว่า มีค่ามากหรือน้อย แต่จะสามารถบอกได้ว่าดีหรือไม่ดี หรือบอกลักษณะความเป็นกลุ่มของข้อมูล เช่น เพศ ศาสนา สีผม คุณภาพสินค้า ความพึงพอใจ ฯลฯ
2. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถวัดค่าได้ว่ามีค่ามากหรือน้อย ซึ่งสามารถวัดค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น คะแนนสอบ อุณหภูมิ ส่วนสูง น้ำหนัก ปริมาณต่างๆ ฯลฯ

นอกจากนี้ข้อมูลเชิงปริมาณยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ลักษณะคือ
2.1 ข้อมูลเชิงปริมาณแบบต่อเนื่อง (Continues Data) หมายถึง ข้อมูลที่เป็นจำนวนจริง ซึ่งสามารถบอกหรือระบุได้ทุกค่าที่กำหนดเช่น จำนวน 0 – 1 ซึ่งมีค่ามากมายนับไม่ถ้วน และเป็นเส้นจำนวนแบบไม่ขาดตอน
2.2 ข้อมูลเชิงปริมาณแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) หมายถึงข้อมูลที่เป็นจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น 0 , 1 , 2 , … ,…, 100 ฯลฯ หรือ 0.1 , 0.2 , 0.3 , … , … ซึ่งในช่องว่างของแต่ละค่าของข้อมูลจะไม่มีค่าอื่นใดมาแทรก

เมื่อจำแนกตามแหล่งที่มาของข้อมูล สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ขึ้นเอง เช่น การเก็บแบบสอบถาม การทดลองในห้องทดลอง
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Second Data) หมายถึง ข้อมูลที่ผู้ใช้นำมาจากหน่วยงานอื่น หรือผู้อื่นที่ได้ทำการเก็บรวบรวมมาแล้วในอดีต เช่น รายงานประจำปีของหน่วยงานต่างๆ ข้อมูลท้องถิ่นซึ่งแต่ละอบต.เป็นผู้รวบรวมไว้ ฯลฯ

เมื่อจำแนกตามระดับการวัด สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดคือ
1. ข้อมูลระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่แบ่งเป็นกลุ่มเป็นพวก เช่น เพศ อาชีพ ศาสนา ผิวสี ฯลฯ ไม่สามารถนำมาจัดลำดับ หรือนำมาคำนวณได้
2. ข้อมูลระดับอันดับ (Ordinal Scale) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มได้ แล้วยังสามารถบอกอันดับที่ของความแตกต่างได้ แต่ไม่สามารถบอกระยะห่างของอันดับที่แน่นนอนได้ หรือไม่สามารถเปรียบเทียบได้ว่าอันดับที่จัดนั้นมีความแตกต่างกันของระยะ ห่างเท่าใด เช่น อันดับที่ของการสอบของนักศึกษา อันดับที่ของผู้เข้าประกวดนางสาวไทย ฯลฯ
3. ข้อมูลระดับช่วงชั้น,อันตรภาค (Interval Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีช่วงห่าง หรือระยะห่างเท่าๆกัน สามารถวัดค่าได้แต่เป็นข้อมูลที่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบ GPA คะแนน I.Q. ฯลฯ
4. ข้อมูลระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) หมายถึง ข้อมูลที่มีมาตราวัดหรือระดับการวัดที่สูงที่สุด คือ นอกจากสามารถแบ่งกลุ่มได้ จัดอันดับได้ มีช่วงห่างของข้อมูลเท่าๆกันแล้ว ยังเป็นข้อมูลที่มีศูนย์แท้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ระยะทาง รายได้ จำนวนต่างๆ ฯลฯ
การนำเสนอข้อมูลสถิติ (Statistical Presentation)

การนำเสนอข้อมูลสถิติแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ
1) การนำเสนอข้อมูลสถิติโดยปราศจากแบบแผน (Informal Presentation)
1.1 การนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นบทความ
1.2 การนำเสนอข้อมูลสถิติเป็นบทความกึ่งตาราง

2) การนำเสนอข้อมูลสถิติโดยมีแบบแผน (Formal Presentation)
2.1 การเสนอข้อมูลสถิติด้วยตาราง
2.2 การเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป
1.2.1 การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยตาราง (Tabular Presentation)
1.2.2 การนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป (Graphic Presentation)

เทคนิคการนำเสนอข้อมูลสถิติด้วยกราฟและรูป

1. เมื่อต้องการเสนอข้อมูลสถิติโดยข้อมูลที่จะนำเสนอนั้นมีเพียงชุดเดียว
1.1 แผนภูมิแท่งเชิงเดียว (Simple Bar Chart)